ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ มุ่งประโยชน์ส่วนรวม มีเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นข้าราชการ ไม่ใช้หน้าที่และอำนาจเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง

“สตรีและครอบครัวมั่นคง สังคมเสมอภาค”

สค. ร่วมรับรองเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และร่วมหารือแนวทางความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน

10 ม.ค. 2567

133 view

-

วันพุธที่ 10 มกราคม 2567 เวลา 09.00 น. ณ ห้องรับรองชั้น 9 กระทรวง พม. นางสุดา สุหลง รองอธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว เข้าร่วมรับรอง H.E. Mr. David Daly (นายเดวิด เดลี) เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย โดยฝ่ายสหภาพยุโรป ได้เน้นย้ำความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสหภาพยุโรปที่มีมายาวนาน และการร่วมลงนามกรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือระหว่างไทยกับสหภาพยุโรปและรัฐสมาชิก (Thailand-EU Comprehensive Partnership and Cooperation Agreement หรือ Thai – EU PCA) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 ซึ่งให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) สิทธิมนุษยชน ความเสมอภาคระหว่างเพศ การพัฒนาสวัสดิการสังคม บทบาทของภาคประชาสังคม และติดตามความคืบหน้าของร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. .... หรือร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม จำนวน 4 ฉบับ ทั้งนี้ ฝ่ายไทยได้เน้นย้ำการดำเนินนโยบายที่มีความครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม คำนึงถึงความเป็นมิตรทางเพศภาวะ (gender friendly) สิทธิของกลุ่ม LGBTQIA บทบาทของคนรุ่นใหม่ที่มีต่อครอบครัว การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาคน ทั้งการศึกษา ความปลอดภัย รวมถึงความพยายามมิให้ผู้สูงอายุและคนพิการถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ถูกมองข้าม (underrepresented groups) ผ่านการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของกระทรวงสาธารณสุข และการนำร่องเพิ่มศักยภาพคนพิการ ผ่านการลงนามร่วมกับ 6 มหาวิทยาลัย กับกระทรวง พม. เป็นต้น ในส่วนของประเด็นทิศทางความร่วมมือระหว่างสองฝ่ายในรูปแบบ partnership and corporate ที่สอดรับกับการบรรลุเป้าหมาย SDGs อาทิ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติเพศภาวะ (Gender Responsive Budgeting: GRB) บทบาทของสตรีกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การส่งเสริมบทบาทและการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การส่งเสริมการสูงวัยอย่างมีพลัง (Active Aging) ในส่วนของประเด็นอื่น ๆ ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ โดยคำนึงถึงหลักการสิทธิมนุษยชน และการสร้างความตระหนักรู้ให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับผิดชอบการบริโภคสินค้าที่ผลิตโดยแรงงานถูกต้องตามกฎหมาย ใช้วัตถุดิบที่ไม่กระทบต่อการทำลายป่าไม้ 


ประชาสัมพันธ์ อื่นๆ

Share

icon