ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ มุ่งประโยชน์ส่วนรวม มีเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นข้าราชการ ไม่ใช้หน้าที่และอำนาจเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง

“สตรีและครอบครัวมั่นคง สังคมเสมอภาค”

ภารกิจ อำนาจหน้าที่

24 ส.ค. 2559

18583 view

กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ

ภารกิจ อำนาจหน้าที่

            ตามกฎกระทรวงการแบ่งส่วนราชการกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พ.ศ. 2559 กำหนดให้กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว มีภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพสตรีการส่งเสริมความเสมอภาคและความเท่าเทียมระหว่างเพศ การส่งเสริมและพัฒนาครอบครัวการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิสตรี ผู้แสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกําเนิด และบุคคลในครอบครัว การสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันครอบครัว การป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว การคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัว การตรวจสอบ การชดเชยและเยียวยาเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ และการคุ้มครองและพัฒนาอาชีพผู้ประสบปัญหาจากการค้าประเวณี
โดยให้มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
          1. เสนอแนะนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน และมาตรฐานการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการส่งเสริม การพัฒนาศักยภาพ การคุ้มครองพิทักษ์สิทธิ
การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ สตรี ครอบครัว ผู้ประสบปัญหาจากการค้าประเวณี และผู้แสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกําเนิด
          2. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน และองค์กรระหว่างประเทศ ในการดําเนินการตามนโยบาย พันธกรณี อนุสัญญา และความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับสตรีครอบครัว ผู้ประสบปัญหาจากการค้าประเวณี และผู้แสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกําเนิด
          3. เสริมสร้างมาตรการ กลไกในการพัฒนาศักยภาพ ความเสมอภาคและความเท่าเทียม ระหว่างเพศ การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิสตรีและ
ผู้แสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกําเนิด การป้องกันการค้าประเวณีและคุ้มครองผู้ประสบปัญหาจากการค้าประเวณี การคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัว การสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันครอบครัว
          4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดตั้ง การดําเนินงาน การรับรอง และการเสริมสร้าง ความเข้มแข็งขององค์กรภาคเอกชนด้านสตรีและครอบครัว รวมทั้งองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง
          5. บริหารจัดการและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสตรี ครอบครัว ผู้ประสบ ปัญหาจากการค้าประเวณี และผู้แสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกําเนิดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ในการแก้ไขและพัฒนาสตรี ครอบครัว ผู้กระทําหรือผู้ถูกกระทําด้วยความรุนแรงในครอบครัว ผู้ประสบปัญหาจากการค้าประเวณี ผู้แสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกําเนิดและผู้ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ
          6. จัดบริการสวัสดิการสังคม การให้ความช่วยเหลือ คุ้มครอง แก้ไข เยียวยา บําบัด ฟื้นฟู และพัฒนาศักยภาพของสตรี ผู้กระทําหรือผู้ถูกกระทําด้วยความรุนแรงในครอบครัว ผู้ที่ถูกศาลสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพ ผู้ประสบปัญหาจากการค้าประเวณี รวมทั้งผู้แสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกําเนิด     
          7. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย


กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว แบ่งส่วนราชการดังต่อไปนี้
สำนักงานเลขานุการกรม
  1. ดำเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการ งานบริหารทั่วไป งานเลขานุการผู้บริหารงานประสานราชการ และงานสารบรรณของกรม
  2. ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การงบประมาณ การพัสดุ อาคารสถานที่ และยานพาหนะของกรม
  3. ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ระบบคุณธรรม และการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของบุคลากรของกรม
  4. ดำเนินการเกี่ยวกับงานกฎหมาย งานนิติกรรมและสัญญา งานเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่งและอาญา งานคดีปกครอง และงานคดีอื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรม
  5. ดำเนินการเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ผลงานและกิจกรรมของกรม
  6. ดำเนินการอื่นใดที่มิได้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการใดของกรม
  7. ปฏิบัติงานร่วมกับหรืสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
กองคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ
  1. พัฒนาระบบและรูปแบบการให้บริการสวัสติการ และกำหนดมาตรฐานการคุ้มครองและพัฒนาอาชีพแก่ผู้ประสบปัญหาทางสังคม
    และครอบครัว หรือผู้ได้รับผลกระทบจากการค้าประเวณี
  2. จัดให้มีศูนย์ประสานงานแม่เลี้ยงเดี่ยวและครอบครัว (ศปม.) และดำเนินการจัดสวัสดิการ และแนะนำหรือส่งต่อบริการสวัสดิการ
    แก่แม่เลี้ยงเดี่ยวและครอบครัว
  3. จัดบริการสวัสดิการสังคม และดำเนินการให้ความช่วยเหลือ คุ้มครอง แก้ไข เยียวยา บำบัด พื้นฟู พัฒนาอาชีพ การฝึกอาชีพ การสร้างทางเลือกในการประกอบอาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ผู้ประสบปัญหาทาสังคม และครอบครัว หรือผู้ได้รับผลกระทบ
    จากการค้าประเวณี
  4. กำหนดมาตรการ กลไกในการแก้ไขปัญหาการค้าประเวณี และร่วมกับองค์กรเครือข่ายทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายใน
    และต่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาการค้าประเวณี
  5. ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ
  6. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดตั้ง การดำเนินงาน การรับรอง การกำหนดมาตรฐาน และการเสริมสร้างความเข้มแข็งของมูลนิธิ
    สมาคม หรือสถาบันที่ดำเนินกิจการสถานแรกรับหรือสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ตามวัตถุประสงค์
    ได้อย่างเหมาะสม
  7. กำกับ ดูแล และติดตามการดำเนินงานของสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว และศูนย์ประสานงานแม่เลี้ยงเดี่ยวและครอบครัว (ศปม.)
  8. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน
  1. จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโบาย แผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติราชการของกรม และแผนเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้อง
  2. ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณของกรม
  3. ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์
  4. ดำเนินการเกี่ยวกับงานวิเทศสัมพันธ์ การพัฒนาและประสานความร่วมมือระหว่างประเทศเกี่ยวกับนโยบาย พันธกรณี อนุสัญญา และความตกลงระหว่างประเทศ
  5. จัดทำและพัฒนาระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกรม
  6. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
กองส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ
  1. พัฒนาวิชาการ มาตรฐาน มาตรการ และกลไกในการส่งเสริมความเสมอภาคและความเท่าเทียมระหว่างเพศ การคุ้มครอง การพัฒนาศักยภาพ และการพิทักษ์สิทธิสตรีและผู้แสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกำเนิด
  2. ส่งเสริม และสนับสนุนความเข้มแข็งขององค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อคุ้มครองพิทักษ์สิทธิสตรีและผู้แสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกำเนิด
    ตลอดจนส่งเสริม สนับสนุน ประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนและองค์กรระหว่างประเทศในการดำเนินการตามนโยบาย พันธกรณี อนุสัญญา และความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับสตรีและผู้แสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกำเนิด
  3. ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถานภาพสตรีแห่งชาติ และงานธุรการ
    และงานวิชาการของคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ และคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
    ระหว่างเพศ
  4. บริหารจัดการกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
  5. ดำเนินการประสานหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ
    ในการทำงาน ตลอดจนการติดตามผลการดำเนินงานตามมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ
    ในการทำงานตามมติคณะรัฐมนตรีและรายงานผลการดำเนินการต่อคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  6. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
กองส่งเสริมสถาบันครอบครัว
  1. พัฒนาวิชาการ มาตรฐาน มาตรการ และกลไกเกี่ยวกับสถาบันครอบครัว ตลอดจนกำกับดูแล ส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินงานทั้งของภาครัฐและภาคเอกชนในการสร้างหลักประกันความมั่นคงให้แก่บุคคลในครอบครัว การคุ้มครองสวัสดิภาพของบุคคลในครอบครัว และการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว
  2. ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ครอบครัวแห่งชาติ
  3. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน และองค์กรระหว่างประเทศเพื่อดำเนินการตามนโยบาย
    พันธกรณี อนุสัญญา และความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัว
  4. เสริมสร้างมาตรการ แนวทาง และกระบวนการคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัว รวมทั้งประสานความร่วมมือกับสหวิชชีพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในการป้องกัน ปราบปราม คุ้มครอง แก้ไข ช่วยเหลือ ฟื้นฟู พัฒนา เยียวยาผู้เสียหายจาก
    การกระทำความรุนแรงในครอบครัว และแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว และการคุ้มครองสวัสดิภาพของบุคคลในครอบครัว
  5. ช่วยเหลือ คุ้มครอง เฝ้าระวัง และติดตามในการป้องกันแก้ไขปัญหาการกระทำความรุนแรงในครอบครัว และการคุ้มครองสวัสดิภาพของบุคคลในครอบครัว
  6. ช่วยเหลือ คุ้มครอง เฝ้าระวัง และพิทักษ์สิทธิในการป้องกันแก้ไขปัญหาการกระทำความรุนแรงที่เกิดจากการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ
  7. รวบรวม วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลอันเกี่ยวกับการกระทำความรุนแรงในครอบครัว และการคุ้มครองสวัสดิภาพของบุคคล
    ในครอบครัว ตลอดจนริเริ่มนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกระทำความรุนแรงในครอบครัว
    และการคุ้มครองสวัสดิภาพของบุคคลในครอบครัว
  8. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
กลุ่มตรวจสอบภายใน
  1. ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และการบัญชีของกรม
  2. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
  1. เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่อธิบดีเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการภายในกรม
  2. ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการภายในกรม
  3. ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการร่วมกับหน่วยงานกลางต่าง ๆ และหน่วยงานภายในกรม
  4. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรม
และต่อต้านการทุจริต
  1. เสนอแนะอธิบดีเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม การเสริมสร้างวินัย การส่งเสริมธรรมาภิบาล และการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของกรม รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม การเสริมสร้างวินัย
    การส่งเสริมธรรมาภิบาล และการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของกรมให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล
    ยุทธศาสตร์ แผนการปฏิรูปประเทศ มาตรการ และกฎหมายที่เกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม การเสริมสร้างวินัย
    การส่งเสริมธรรมาภิบาล และการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
  2. ประสาน เร่งรัดและกำกับให้หน่วยงานของกรมดำเนินการตามแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม การเสริมสร้างวินัย การส่งเสริมธรรมาภิบาล และการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของกรม
  3. รับและดำเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียน การฝ่าฝืนคุณธรรมจริยธรรม การทุจริตการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ของกรม และส่งต่อไปยังส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  4. คุ้มครองจริยธรรมตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานทางจริยธรรม
  5. ประสานงาน เร่งรัด และติดตามเกี่ยวกับการดำเนินการตาม (3) และ (4) และร่วมมือในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม การเสริมสร้างวินัย การส่งเสริมธรรมาภิบาล และการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบกับส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  6. ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม การเสริมสร้างวินัย การส่งเสริมธรรมาภิบาล และการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของกรมและการคุ้มครองจริยธรรม เสนอต่ออธิบดี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  7. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

******************************
icon