ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ มุ่งประโยชน์ส่วนรวม มีเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นข้าราชการ ไม่ใช้หน้าที่และอำนาจเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง

“สตรีและครอบครัวมั่นคง สังคมเสมอภาค”

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ชี้การคุกคามทางเพศ ไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องส่วนตัว แต่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้หญิง

1 พ.ค. 2565

509 view

-

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 

ชี้การคุกคามทางเพศ ไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องส่วนตัว แต่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้หญิง


(29 เม.ย.2565) นางจินตนา จันทร์บำรุง อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากที่ปรากฏผ่านสื่อออนไลน์ กรณีอธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ถ่ายรูปพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเผยแพร่บนเฟซบุ๊กส่วนตัว พร้อมข้อความ ซึ่งกรณีที่เกิดขึ้นเข้าข่ายการคุกคามทางเพศ


นางจินตนา กล่าวเพิ่มเติมว่า พฤติกรรมที่เข้าข่ายการล่วงละเมิดและคุกคามทางเพศ มีหลากหลายรูปแบบ เช่น การคุกคามทางสายตา เช่น การจ้องมองร่างกายที่ส่อไปในทางเพศ การคุกคามด้วยวาจา เช่น การชักชวนให้กระทำการใด ๆ ในที่ลับตา การพูดเรื่องตลกเกี่ยวกับเพศ พูดจาแทะโลม วิจารณ์ทรวดทรง พูดลามก การแสดงความเห็นต่อรสนิยมทางเพศของผู้อื่น การกระทำทางกาย เช่น การสัมผัสร่างกายของผู้อื่น การลูบคลำ การถูไถร่างกายผู้อื่น การฉวยโอกาสกอดรัด จูบ การหยอกล้อโดยการแตะเนื้อต้องตัว การกระทำอื่น ๆ  เช่น การแสดงรูปภาพ วัตถุ และข้อความที่เกี่ยวข้องกับเพศ การเขียนหรือวาดภาพทางเพศในที่สาธารณะ การสื่อ ข้อความ รูปภาพ สัญลักษณ์ ที่แสดงถึงเรื่องเพศ ไปจนถึงการคุกคามในรูปแบบที่รุนแรง คือการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ หรือการใช้อำนาจให้คุณให้โทษเพื่อให้ได้มาซึ่งความพึงพอใจทางเพศสัมพันธ์ มีทั้งการให้สัญญาที่จะให้ผลประโยชน์ และการข่มขู่ให้เกิดผลในทางลบ เช่น การข่มขู่ว่าจะทำร้าย การบังคับให้มีการสัมผัสทางเพศ หรือกระทำชำเรา มักเป็นการกระทำของผู้มีอำนาจกระทำกับผู้ที่ด้อยอำนาจ แม้อีกฝ่ายยินยอมก็ถือว่าเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ  เนื่องจากมีการนำผลประโยชน์ของหน่วยงานเป็นสิ่งแลกเปลี่ยนอย่างไรก็ตาม ขอให้สังคมตระหนักว่าพฤติกรรมเหล่านี้เข้าข่ายเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ หากเป็นการกระทำที่ผู้ถูกกระทำไม่ต้องการ มีความเดือดร้อนรำคาญ อึดอัด อับอาย หรือรู้สึกถูกเหยียดหยาม

และสิ่งที่สำคัญ การคุกคามทางเพศและการล่วงละเมิดทางเพศ ไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องส่วนตัว แต่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้หญิง 


นางจินตนา กล่าวว่า หากพบเห็นปัญหาหรือต้องการความช่วยเหลือสามารถ โทร.มาขอรับคำปรึกษาได้ที่ศูนย์ประสานการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน (ศปคพ.) โทร 02-6596749 สายด่วน 1300 ศูนย์ช่วยเหลือสังคม แอพพลิเคชั่น Line : @linefamily เว็บไซต์ระบบเพื่อนครอบครัว www.เพื่อนครอบครัhttp://xn--43c.com/ ของกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว รวมทั้ง Facebook account : Jintana Chanbamrung ของนางจินตนา จันทร์บำรุง อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ตลอด 24 ชั่วโมง


📣 ติดตามข่าวสาร สค.ได้ที่

ติดตามข่าวสาร สค.ได้ที่

เว็บไซต์: https://www.dwf.go.th/

เพื่อนครอบครัว: http://www.xn--42ca5dfr6ac6azcd1c9c9f0e.com/

Facebook: https://www.facebook.com/sorkor023068633

YouTube: https://www.youtube.com/channel/UCXtsy6w-fx3fkESr-C6UaAA

Instagram: https://instagram.com/pr.dwf123?utm_medium=copy_link 

LINE Official: @linefamily

Twitter: twitter.com/pr_dwf

 e-Library : http://library.dwf.go.th/

ประชาสัมพันธ์ อื่นๆ

Share

icon